 |
|
|
(ภาพจากหนังสือ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์, กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ 2542) |
|
การดูแลสุขภาพในปัจจุบันได้มีการนำเอาภูมิปัญญาอันเก่าแก่ของคนไทยในสมัยก่อนมาประยุกต์ใช้
เพื่อส่งเสริมสุขภาพแบบพึ่งตนเอง และแนวทางธรรมชาติบำบัด เช่นเดียวกับการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการแผนไทยที่เรียกว่า "การอยู่ไฟ" |
การอยู่ไฟ
เป็นประเพณีไทยโบราณในสมัยดั้งเดิมมา เชื่อว่าจะให้มารดาหลังคลอดมีสุขภาพแข็งแรง
และสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย ความร้อนที่พอเหมาะจะช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น |
ตามหลักทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
หากมองการเปลี่ยนแปลงร่างกายของหญิงหลังคลอดตามทฤษฎี จะพบว่าในภาวะหลังคลอด
ธาตุทั้ง อยู่ในสภาพหย่อนลงทั้งหมดอันเนื่องจากการคลอดซึ่งจะต้องใช้แรงเบ่ง
ร่างกายจะเสียน้ำ อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ตัวเย็นสูญเสียความร้อน
จึงต้องทำการฟื้นฟูบำรุงร่างกายภายหลังคลอด เพื่อปรับปรุงธาตุทั้งสี่
กลับเข้าสู่ปกติ (ลัฐิกา จันทร์จิตร 2540) สภาวะหย่อนดังกล่าว มีดังนี้ |
ธาตุดินแปรปรวน อันได้แก่การเปลี่ยนแปลงขนาดมดลูกจากใหญ่ไปเล็กอย่างรวดเร็ว ภายหลังคลอดทารกและ คลอดรก
หัวใจต้องทำงานสูบฉีดโลหิตเพิ่มจากปกติ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก มีการบีบตัวติดขัด
จะเห็นจากอาการท้องผูก หรือเกิดริดสีดวงจากการตั้งครรภ์ แนวโครงสร้างของกระดูกสันหลังเบี่ยงเบนไปจากแนวปกติ
รวมทั้งข้อต่อกระดูกเชิงกรานที่ขยายออกเพื่อให้ทารกผ่านออกมา |
ธาตุน้ำแปรปรวน อันได้แก่การเสียเลือด
เสียน้ำ และเกลือแร่ เมือกมูก น้ำเดิน น้ำคาวปลา เสียเหงื่อ เกิดภาวะที่แพทย์แผนไทยเรียกว่าโลหิตอยู่ในภาวะหย่อนหรือโลหิตจางหรือ
"ขาดน้ำ" (dehydration) |
ธาตุลมแปรปรวน อันได้แก่ ระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
ระยะคลอด และจะลดลงภายหลังคลอด ส่วนการเกิดลมเบ่ง ซึ่งตามทฤษฎีเรียกว่า
"ลมกัมมัชวาต" คือลมเกิดแต่กรรม หมายถึงเมื่อหญิงมีครรภ์ครบกำหนดจะคลอดบุตร
มีลมชนิดหนึ่งเรียกว่า ลมกัมมัชวาตบังเกิดพัดเส้น และเส้นที่รัดตรึงหัวกุมารให้กลับเอาศีรษะลงเบื้องต่ำ
เมื่อใดฤกษ์ดีแล้วทารกก็คลอดออกจากครรภ์มารดาเพราะอาศัยลมกัมมัชวาตนี้ |
ธาตุไฟแปรปรวน ธาตุไฟในร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการเผาผลาญอาหารมากขึ้น
เรียกว่าภาวะกำเริบ คืออาหารย่อยเร็ว หิวบ่อย ภายหลังคลอดการสูบฉีดโลหิตเปลี่ยนแปลง
การเสียเลือด เสียน้ำ ความดันโลหิตต่ำ เลือดไหลเวียนมาสู่เส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังน้อยทำให้ตัวเย็น
รวมทั้งพลังงานที่เผาผลาญให้ความอบอุ่นลดลง (สันตัปปัคคี) ทำให้เกิดอาหารหนาวสั่นได้ |
|