 |
|
|
(ภาพจากหนังสือ
โรคโลหิตสตรี, แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และคณะ) |
|
ระยะอยู่ไฟหรือระยะหลังคลอด
หมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายของผู้หญิงมีการปรับตัวคืนสู่สภาพเดิมก่อนการตั้งครรภ์
โดยมีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะต่าง ๆของร่างกาย ดังนี้ |
1. มดลูก ขยายใหญ่ขึ้นในขณะตั้งครรภ์ และลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังคลอด รวมถึงเยื่อบุโพรงมดลูก
ซึ่งมี 2 ชั้นคือ
-
ชั้นผิว จะหลุดออกมาเรียกว่าน้ำคาวปลา ซึ่งในระยะ 2- 3 วันแรกจะมีสีแดงจัด
และต่อมาสีแดงจะจางลง และปริมาณน้อนลง (น้ำคาวปลาที่ไหลออกมาส่วนใหญ่ประกอบด้วยเลือด
เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ที่สลายตัวปะปนออกมา) น้ำคาวปลาจะมีประมาณ 2-
6 สัปดาห์ -
เยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูกจะมีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่และเจริญขึ้นเต็มโพรงมดลูกภายใน
3 สัปดาห์ |
2. ปากมดลูก/
ตัวมดลูกส่วนล่าง ภายหลังคลอด (รกคลอด) แล้ว ปากมดลูกจะนุ่มบางมีรอยฉีกขาดออกไปทางด้านข้าง
และมีการหดรัดตัวอย่างช้า ๆ |
3. ช่องคลอดและปากช่องคลอด จะมีการหย่อนของผนังช่องคลอดมากกว่าเดิม |
4. ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ หลังคลอดทันทีมดลูกเกิดการหดรัดตัวเพื่อไล่เลือดที่ขังในชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกกลับเข้าระบบไหลเวียน
ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนของร่างกายจึงเพิ่มมากขึ้น |
5. เต้านม ภายหลังคลอดฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกจะหมดไป ทำให้ส่วนหน้าของต่อมปิทูอิตารี่
หลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของน้ำนมทำให้มีน้ำนม การที่ทารกดูดนมจะเป็นการกระตุ้นประสาทจากปลายหัวนม
จำนวนและคุณภาพของน้ำนมขึ้นอยู่กับการดูดนมของทารกด้วย |
6.การมีประจำเดือน หลังคลอดจะไม่มีประจำเดือนอยู่ระยะหนึ่ง ในรายที่ให้นมบุตรจะมีประจำเดือนช้ากว่ามารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง
ภายหลังคลอด ถ้าไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ประจำเดือนจะกลับมาภายใน
4-6 สัปดาห์ |
7. ระบบทางเดินอาหาร ภายหลังคลอดมารดาจะกระหายน้ำ เพราะระหว่างการคลอดร่างกายเสียน้ำไปมาก
ทำให้กากอาหารแห้งกว่าปกติ จึงทำให้เกิดการท้องผูกได้ในระยะ 2- 3 วันแรกหลังคลอด |
8. ทางด้านจิตใจ การคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ทำให้จิตใจและอารมณ์ของหญิงหลังคลอด
อาจแตกต่างไปจากเดิม เช่น อาจดีใจมาก เสียใจมาก หรือมีความกังวลใจในเรื่องต่างๆ
มากมาย มีอาการหงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ |
ดังนั้น การอยู่ไฟจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ในการปรับสมดุลร่างกายของหญิงหลังคลอดบุตร ซึ่งให้ผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
|
|