 |
การให้นมบุตร |
ในการให้นมบุตรเน้นเรื่องเพียงพอกับความต้องการของเด็กทั้งปริมาณและคุณภาพ
การให้ลูกดูดนมจากเต้าจะต้องล้างมือด้วยสบู่ และล้างหัวนมด้วยสบู่ก่อนและหลังให้ดูดนมทุกครั้ง
แล้วเช็ดด้วยน้ำสุก ให้เด็กดูดนมบริเวณรอบหัวนมหรือลานนม คุณแม่จะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ
เน้นให้ลูกดูดนมครั้งละ ๑ ข้างสลับกันไป กรณีนมจากแม่ไม่เพียงพอกับลูกไม่ควรปล่อยให้ทารกหิว
จำเป็นต้องอาศัยนมผงสำเร็จรูป ควรเลือกชนิดของนมผงตามวัยของเด็ก และให้นมที่ชงกับน้ำสุกและให้ดื่มขณะมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกายมารดาประมาณ
๓๗ องศาเซลเซียส ขณะให้นมควรโอบประคองลูกน้อยไว้ เพื่อให้ทารกมีความรู้สึกเหมือนดูดนมจากแม่
ควรให้ทารกใช้เวลาในการดูดนมแม่ประมาณ ๕-๑๐ นาที และต้องให้นมบ่อยๆ ดังนั้น
ท่าในการให้นมลูกควรเป็นท่าที่สบายที่สุด และการกอดสัมผัสขณะให้นมลูกช่วยสานสายใยรักให้ลูกน้อยได้รับรู้เช่นกัน |
๑. นั่งบนเก้าอี้พอดีตัว
วางแขนข้างที่โอบหัวลูกน้อยพาดไว้บนที่พักแขน ขาข้างหนึ่งยกขึ้นวางบนม้านั่งรองเตี้ยๆ
อยู่ตรงหน้า เพื่อลดการตึงเครียดที่หลัง เมื่อต้องนั่งนานๆ เก้าอี้ควรเป็นแบบมีพนักพิงและมีที่วางแขน
|
 |
๒. นั่งขัดสมาธิหลวมๆ
บนพื้นห้อง โอบประคองลูกน้อยไว้บนตัก
|
|
๓. ท่านอนตะแคงข้างบนเบาะของเด็ก
เอาแขนโอบตัวลูกน้อยให้ดูดนม เหมาะกับการให้นมตลอดกลางคืน ตอนที่ต้องการพักการใช้หลัง
|
|
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
|
การให้ลูกดื่มนมแม่เป็นเรื่องสำคัญ
แต่ที่ผ่านมาเกิดปัญหาหลายอย่างที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้อย่างต่อเนื่อง
วันนี้เรามีทางเลือกที่ดีให้กับคุณแม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองและช่วยให้ความตั้งใจของคุณแม่ทั้งหลายเป็นจริง
และที่สำคัญคือลูกจะได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างแท้จริง
|
ถุงเก็บน้ำนม
(Milk Bank) ช่วยให้คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านมีภาชนะเก็บน้ำนมของแม่ไว้ให้ลูกกิน
โดยประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ และสะดวกในการพกพา ถุงเก็บน้ำนมทำจากพลาสติกประเภท
Low Density Polyethylene ชนิดที่ใช้บรรจุอาหารซึ่งสามารถเก็บโดยการนำเข้าตู้เย็นทั้งช่องแช่แข็งและแช่เย็นธรรมดา
ขนาดบรรจุ 6 ออนซ์ หรือ 180 ม.ล. โดยมีขีดบอกปริมาณน้ำนมในถุง ปากถุงเป็นชิป
2 ชั้น ป้องกันการรั่วซึม มีที่จดบันทึกวัน เวลา ที่เก็บจัดเรียงตามลำดับก่อนหลัง
หรือถ้าไม่สามารถหาซื้อถุงเก็บน้ำนมได้ ควรเก็บน้ำนมใส่ขวดนมแล้วนำไปแช่ช่องแข็ง
ก็สามารถทำได้เช่นกัน |
วิธีการใช้ถุงเก็บน้ำนมแม่
- บีบน้ำนม เก็บในถุงโดยตรง
- แบ่งเก็บน้ำนม ให้ได้ปริมาณที่ลุกต้องการในแต่ละมื้อ
ควรให้เหลืออากาศอยู่ในถุงบ้าง เพราะเมื่อแช่แข็งน้ำนมจะเกิดการขยายตัว
- รีดซิปปิดให้สนิท บันทึกวันที่ เวลา
ปริมาณที่เก็บ ไว้ที่ส่วนบนของปากถุง
- แช่ในช่องแช่แข็ง ไม่ควรเก็บถุงน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็น
เพราะอุณหภูมิไม่คงที่ อาจทำให้เก็บได้ไม่นาน
|
เก็บอย่างไรให้น้ำนมอยู่ได้นาน
- เก็บที่อุณหภูมิห้อง (>25 องศาเซลเซียส)
1 ชั่วโมง (<25 องศาเซลเซียส) 4 ชั่วโมง
- เก็บในกระติกน้ำแข็ง 1 วัน เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา
2-3 วัน
- เก็บในช่องแช่แข็ง 2 สัปดาห์ – 3 เดือน
|
ก่อนให้นมลูก ควรทำอย่างไร
ถ้าเก็บน้ำนมในช่องแช่แข็ง ควรนำมาไว้นอกตู้เย็นเพื่อให้หายเย็น
หากจะประหยัดเวลาสามารถแช่น้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อนจัด หรือเข้าไมโครเวฟ
เพราะถุงเก็บน้ำนมอาจแตก และภูมิต้านทานในน้ำนมแม่อาจสูญเสียไปได้)
นมที่เก็บในช่องแช่แข็ง ให้ใช้นมเก่าก่อนเมื่อนำมาใช้ให้ย้ายลงมาไว้ที่ชั้นไต้ช่องแช่แข็งให้ละลาย
นมที่ละลายหลังแช่แข็งแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งซ้ำอีก
นมที่กินไม่หมด ให้ทิ้งไป ไม่ควรเก็บไว้กินต่อ
ถุงที่ใช้แล้ว ให้ทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาใช้อีก
|
ลูกควรได้รับน้ำนมที่แค่ไหน
และให้อย่างไร |
จำนวนมื้อนมที่ให้
ขึ้นอยู่กับน้ำหนักแรกเกิดของลูก
น้ำหนักแรกเกิดของลูก |
ให้นม |
น้อยกว่า 1,250 กรัม |
ทุก ๆ 1-2 ช.ม. |
1,250 – 2,000 กรัม |
ทุก ๆ 2-3 ช.ม. |
น้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัม |
ทุก 3 ช.ม. |
|
น้ำนมแม่มีสารอาหารที่ประกอบไปด้วย โปรตีน เกลือแร่ แคลอรี่ DHA ทอรีน
แลกโตส โอลิโกแซกคาไรด์ (เป็นส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตในน้ำนมแม่)
- โปรตีน ป้องกันการติดเชื้อ
- ทอรีน พัฒนาการมองเห็น
- DHA กรดไขมันไม่อิ่มตัว พัฒนาสมอง เชาว์ปัญญา
และความคิด
- แลกโทส แย่งจับแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียไม่เกาะเยื่อบุลำไส้
-โอลิโกแซกคาไรด์ ช่วยไม่ให้แบคทีเรียเกาะติดเยื่อบุลำไส้
ป้องกันลำไส้อักเสบ และแบคทีเรียเข้ากระแสเลือด |
|